11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร 11/20

เมื่อเปรียบเทียบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก จะพบว่ามีทั้งสอดคล้องกับส่วนที่แตกต่างออกไป


กล่าวโดยสรุปแล้ว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชี้ถึงวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนการพัฒนา บนพื้นฐานของคุณธรรมความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับบริบทความเป็นจริงของแต่ละสังคม เป็นแนวทางในการพัฒนาคน โดยเน้นการแก้ไขต้นเหตุของปัญหา คือ การพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของคน ให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรทุกอย่างที่มีอยู่ แล้วใช้ความรู้อย่างรอบคอมในการนำทรัพยากรไปใช้บนพื้นฐานของคุณธรรม การไม่เบียดเบียนกัน ความซื่อสัตย์สุจริต และขยันหมั่นเพียร อดทน เพื่อสร้างพื้นฐานที่มั่นคงในการเสริมสร้างประโยชน์สุขส่วนรวมในระยะยาว ซึ่งทั้งหมดนี้ มีความลึกซึ่ง มากกว่าที่จะอธิบายได้ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ในเชิงวิชาการ คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เนื่องจากโลกจริง ๆ มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก เศรษฐศาสตร์จึงศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์โดยกำหนดสมมติฐานต่าง ๆ ขึ้น เช่น สมมติว่า โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มีพฤติกรรมที่จะแสวงหาประโยชน์สูงสุด และในบางกรณี สมมติว่าทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับปัจจุบันและอนาคตอย่างสมุบรณ์ (Perfect Knowledge) ข้อสมมติเหล่านี้ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นจริง เป็นศาสตร์ที่สอนให้คนเห็นแก่ตัว และไม่เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ประสงค์จะพัฒนาอย่างยั่งยืน


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแนะว่าให้ “…อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้…”

ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์จึงควรศึกษาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ กล่าวคือ หากข้อสมมติเป็นจริง ก็จะสามารถวิเคราะห์หาข้อยุติได้ และนำมาใช้ประโยชน์ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น แต่หากข้อยุติไม่สอดคล้องกับผลประโชน์ส่วนรวม ก็สามารถเสนอแนะมาตรการให้รัฐเข้าไปแทรกแซงได้ในขณะเดียวกัน หากไม่สามารถยอมรับพฤติกรรมที่เห็ฯแก่ตัวของคนในระบบเศรษฐกิจก็สามารถเสนอให้ใช้ระบบการศึกษาหรือกระบวนการทางสังคมไปปรับทัศนคติและค่านิยมเหล่านี้ในระยะยาวได้

เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสนอให้ทุก “หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units)” ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค (Consumers) หรือผู้ผลิต (Producers) ใช้หลักของความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และ การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และแนะให้คน “…มีความสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต…ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียร…” ตลอดจนพัฒนาประเทศไปตามลำดับขั้น


ซึ่งหากสามารถทำให้คนมีพฤติกรรมตามนี้ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เศรษฐกิจส่วนรวมก็จะตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และมีความมั่นคงมากขึ้น การครองชีพของคนส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ความเหลื่อมล่ำก็จะน้อยลง ความจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงก็จะน้อยลงด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยุ่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยใช้ “มือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand)” ซึ่งเป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักได้โดยมีข้อกังขาน้อยลง

หากนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ได้ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถประยุกต์ใช้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม กับสภาพที่เป็นจริงในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยให้ความสนใจกับเป้าหมายของการสร้างประโยชน์ และความสุขอย่างยั่งยืนของคนในสังคม

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่


11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  คลิป - วิธีทำปุ๋ยบำรุงต้นพืช จากวัสดุใกล้ตัวใช้ได้ผลจริงเราทำได้เอง ผักโตเร็ว ไม่ง้อปุ๋ยเคมี ปลอดสารพิษ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง