8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ 8/20

คำนิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้กล่วาถึง

“…การพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัติน์…”

“…การสั่งของขากต่างประเทศก็มีความจำเป็นบ้างในบางกรณี แต่ว่าสามารถที่จะส่งออก ซึ่งผลิตผลที่ทำในเมืองไทยก็จะดีกว่า…”

และ

“…ฉะนั้น สามารถที่จะทำให้มีการส่งออกสิ่งของที่ทำด้วยวัตถุดิบในเมืองไทย และทำด้วยแรงงานของคนไทย อันนี้เป็นการแก้ไข่สภานการณ์วิกฤตอย่างดี…”

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540)


จากคำนิยามแสดงให้เห็นว่า การส่งออกไม่ขัดต่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแน่นอน และการส่งออกเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หากไม่มีการส่งออก ประเทศก็จะไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะจะไม่มีเงินตราข่างประเทศไปซื้อสินค้านำเข้าที่จำเป็นในการพัฒนา เนื่องจากประเทศไทยยังจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าบางประเภทที่เราไม่สามารถผลิตเองได้

สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ปฏิเสธการส่งออกแต่ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีเพื่อให้พร้อมรับต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยระลึกเสมอว่า การจะก้าวหน้าไปได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ต้องใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงรอบคอบในการตัดสินใจบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบ

ในขณะเดียวกัน การที่จะสามารถค้าขายหรือดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องมีคุณธรรม ทั้งความซื่อสัตย์สุจริต ความเพียรความอดทน และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของตลาด และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี


ภายใต้สภานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก การปรับตัวอย่างพอประมาณกับสภานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับองค์กรจะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินการไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่


11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ไอเดียทำแปลงผัก ปลูกผักสวนครัว ไว้รับประทาน อยู่แบบพอเพียง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง