10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่ 10/20

ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมิได้ห้ามการใช้ของแพง หรือการกู้ยืมเงิน ตราบเท่าที่เราไม่เบียดเบียนใคร รวมทั้งไม่เบียดเบียนตนเอง เพราะเศรษฐกิจพอเพียง คือการที่เราใช้ทรัพยากรที่มีอยุ่อย่างจำกัด ในการผลิตเพื่อบริโภคเองบ้าง หรือเพื่อแลกเปลี่ยนบ้าง ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินระดับความสามารถในการใช้จ่ายของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต


จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้ผู้ปฏิบัติสามารถมีสิ่งต่าง ๆ เพียงพอที่จะสนองความจำเป็นในเบื้องต้นได้ และถ้าหากมีทรัพยากรและความสามารถเหลือเพียงพอที่จะผลิตหรือบริโภคเกินระดับนั้น ก็สามารถทำได้แต่ต้องพอประมาณตามอัตภาพ ดังพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในรัชกาลที่ ๙)ได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า

“…ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำใด้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ. อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง. เมื่อปีที่แล้วตอนนี้พูดพอเพียง แปลงในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น Self-sufficience. (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้ กว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)…พอเพียงนี้ มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเองคนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย…”


นอกจากนี้ เมื่อคนเรารู้จักคำว่า “พอ” เมื่อเรามีเหลือกิน เหลือใช้ ก็ควรจะแบ่งปัน เอื้อเฟื้อสิ่งที่มีเกินพอให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ยากไร้หรือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าตนเอง ดังพระราชดำรัสในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2520 ใจความว่า “…แต่อย่างที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือเรียนรู้ฝึกหัดตนที่จะให้มีความเอื้อเฟื้อ คือ เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น เมื่อตนมีอะไรก็เอื้อเฟื้อให้ผู้อื่น แบ่งปันให้ผู้อื่น เพื่อที่จะให้ผู้อื่นได้รับผลดีและได้รับความสุขนั้นเหมือนกันเรียกว่าเอื้อเฟื้อ…”

สำหรับในการกู้เงินนั้น หากอยู่บนพื้นฐานของความรู้ และความอุตสาหะ ความคิดที่จะพึ่งตนเองให้ได้ในระยะยาว ก็สามารถกู้เงินแบบพอเพียงสร้างฐานะ และความเจริญ ให้กับตนเองและครอบครัวได้ดังในพระราชดำรัสที่ว่า

“…การกู้เงินที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญเพราะว่าถ้ากู้เงินและทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับทำให้ใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือนร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ…ฯ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540)


ดังตัวอย่างที่พระองค์ท่าน ได้มีพระราชดำรัสในปีเดียวกันนั้น เรื่องที่มีคนมาขอกู้เงินสามหมื่นบาท ไปซื้อเครื่องมือตัดเย็บเสื้อผ้าให้ภรรยาทำร้าน และสามารถใช้เงินคืนหมดจำนวนที่กู้ไปด้วยความฉลาดและความซื่อสัตย์ ตรงกันข้ามกับกรณีที่อีกรายหนึ่งกู้เงินไปใช้ “อย่างอีลุ่ยฉุยแฉก” หรือกู้ไปเล่นแชร์ อันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด

ซึ่งในที่สุดแล้ว การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่ประมาณตน รวมถึงการกู้เงินที่ไม่นำไปสู่การสร้างรายได้หรือก่อให้เกิดประโยชน์ที่สมเหตุสมผล ก็กลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจดังที่ทราบกัน

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่


11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  “อย่าตัดสินปลาว่าไม่เก่ง แค่ว่ามันปีนต้นไม้ไม่ได้” ลูกเรียนไม่เก่ง ไม่ได้แปลว่าโง่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง