เกษตรกรต้องรู้ การเตรียมดินให้พร้อม ก่อนปลูกพืช

เกษตร นานา Kaset NaNa เกษตรกรต้องรู้ การเตรียมดินให้พร้อม ก่อนปลูกพืช
แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

การปรับปรุงบำรุงดินในส่วนของแปลงที่อยู่ในโรงเรือนนั้นจะต้องใช้ธาตุอาหารเยอะ เนื่องจากความถี่ในการปลูกพืชผักใบ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ฉุนช่าย และพืชผักใบที่ไม่สามารถปลูกนอกโรงเรือนได้ ซึ่งต้นทุนในการทำโรงเรือนต้องใช้งบประมาณเยอะ จึงต้องใช้รอบในการผลิตที่บ่อย ถี่ จึงทำให้ดินเกิดการเสื่อมโทรมเร็ว ทำให้เราต้องมีการบริหารทำการปรับปรุงบำรุงดิน

การปรับปรุงบำรุงดินของคุณฟองนั้น จะทำปีละ 2 ครั้ง 6 เดือนจะทำ 1 ครั้ง เป็นการเติมธาตุอาหารและปรับปรุงดินใหม่ ในการดำเนินการนั้น มีวัสดุ 5 อย่าง ที่ใช้ คือ

  1. หินร็อคฟอสเฟต กระสอบละ 150-160 บาท หาซื้อได้ตามร้ายขายอุปกรณ์ทางการเกษตรทั่วไป เป็นธาตุอาหารตัวสุดท้าย
  2. มูลสัตว์ ที่ใช้จะเป็นมูลวัวแห้ง
  3. ขี้เถ้าแกลบ สามารถหาซื้อได้ตามโรงสีทั่วไป ขี้เถ้าแกลบเกิดจากการนำแกลบไปเผาเพื่ออบความชื้นตามกระบวนการ ประมาณคันละ 250 บาท นำมาใส่กระสอบเก็บ แล้วจึงนำมาโรยบนแปลง ขี้เถ้าแกลบเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้ในการปลูกผัก มีสภาพเป็นด่าง ขณะที่พื้นที่ของคุณฟองมีสภาพเป็นกรด ทำให้สภาพดินปรับเป็นกลาง เมื่อสภาพดินเป็นกลางแล้ว จะสามารถปลูกพืชได้หลายอย่าง
  4. ขุยมะพร้าว ช่วยในการอมน้ำ อมความชื้น และยังสามารถช่วยปรับโครงสร้างดิน
  5. ปุ๋ยหมักระยะสั้น หรือปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำจากการทำแกลบที่ปูพื้นเลี้ยงไก่และนำมาตาก แล้วเข้าสู่กระบวนการการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ มีขี้เถ้า แกลบ รำ หินร็อคฟอสเฟต จุลินทรีย์ นำมาทำการคลุกเคล้าผสมเข้าด้วยกัน ใส่กระสอบแล้วหมักไว้ประมาณ 7 -15 วัน

การทำ โบกาฉิ

วิธีทำ

นำวัสดุทั้ง 5 อย่าง โรยให้ทั่วแปลง แล้วทำการตีดินหรือสับดิน ทำการคลุกเพื่อเพิ่มอาหารให้ดิน จะเห็นได้ว่าดินมีความร่วนซุย เป็นการปรับโครงสร้างดินใหม่ เมื่อปลูกพืชก็จะได้ผลผลิตที่ดี หลังการคลุกเคล้าดินเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเกลี่ยแปลงดินให้เรียบ โดยให้พื้นที่ตรงกลางสูงเล็กน้อย เพื่อให้น้ำเกิดการระบายไปด้านข้าง ไม่ขัง เมื่อเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูก หรือหยอดเมล็ดพันธุ์ได้เลย

ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดย นายวิชกรณ์ ศรีหรั่งไพโรจน์ (ฟอง) บ้านเลขที่ 102 หมู่ 3 บ้านหนองยายนุ่น ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เครืองพ่นยุง ไทยประดิษฐ์ โอท๊อป

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ไอเดีย รดน้ำแนวใหม่ประหยัดน้ำ ดินเหนี่ยว หน้าดินแข็ง น้ำซึมไม่ถึงราก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง