ภูมิปัญญาชาวบ้าน ‘พญาแร้งให้น้ำ’ สูบน้ำได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ใช้ไฟฟ้า

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน ‘พญาแร้งให้น้ำ’ สูบน้ำได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ใช้ไฟฟ้า

ชาวเกษตรหลายๆคนคงกำลังประสบปัญหากับการขาดแคลนไฟฟ้าที่ใช้ในภาคการเกษตรซึ่งบางท้องถิ่นนั้นก็ห่างไกลจากแหล่งชลประทานจึงไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการดูแลเพาะปลูกโดยในวันนี้เราก็จะมานำเสนอการผลิตพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานทางเลือกให้กับชาวเกษตรกรทำให้ชาวเกษตรกรนั้นสามารถหาช่องทางในการพึ่งพาดูแลตัวเองได้หลากหลายรูปแบบโดยเลือกจากการผลิตไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ดินกันก่อน

โดยแบตเตอรี่ดินที่ว่านี้เป็นแบตเตอรี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วกว่า 2000 ปีโดยครั้งแรกพบในนครแบกแดดประเทศอิรัก โดยใช้เป็นไหดิน มีท่อทองแดงล้อมแท่งเหล็กอยู่ภายในหายสันนิษฐานว่าอิเล็กโทรไลต์เป็นกรดจากธรรมชาติเช่น น้ำผลไม้ หรือน้ำส้มสายชู


และการทำแบตเตอรี่ดินนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆและใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้จริงๆเพียงแค่นำขวดน้ำขนาดเล็กมาตัดขึ้นและเอาแผ่นสังกะสีใส่ลงไปให้พอดีกับขวดจากนั้นก็เติมให้เต็มแล้วเติมน้ำส้มสายชูลงไป 2-3 หยดรวมถึงน้ำเปล่า จากนั้นก็ปั่นแห้งทองแดงขนาดเล็กลงไปในดินต่อขั้วกระแสตรงเข้ากับหลอดไฟไฟก็จะสว่างขึ้นซึ่งกระบะดิน 4 ใบจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 โวลต์สามารถให้แสงสว่างในห้องน้ำทางเดินหรือสวนหย่อมได้ฐานหลอดไฟ LED สว่างสูงสุดหรือหากต้องการมากกว่านี้ก็สามารถเพิ่มจำนวนของกระบะดึงไฟฟ้าได้มากขึ้น

ผันน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ซึ่งมีชาวเกษตรไม่น้อยกำลังประสบปัญหากับภาวะแห้งแล้งในยามหน้าแล้งและมีใครหลายคนก็ไม่สามารถหาน้ำมาทดแทนได้โดยในวันนี้ก็มีเทคนิคดีดีจากชาวบ้าน กาบอัก อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ได้งบสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อใช้สำหรับการทำปัญหาภัยแล้ง โดยชาวบ้านนั้นได้มีการนำงบประมาณดังกล่าวก่อสร้างระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีการดึงน้ำจากลำน้ำชีซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนมาหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรพร้อมขุดวางท่อส่งน้ำจากลงสู่ไปยังพื้นที่การเกษตรบ้านหัวช้างโดยใช้ระยะทางทั้งหมด 700 60 เมตรและมีการขุดลอกคลองส่งน้ำสาธารณะเพื่อขยายพื้นที่ในการส่งน้ำกว้างประมาณ 1 เมตรและลึกประมาณ 1 เมตรรวมระยะทาง 920 เมตร

โดยมีการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ค่าวัสดุจำนวนทั้งหมด 684,812 บาท ค่าแรงงาน 307,400 บาท จ้างแรงงานในชุมชน 103 คน ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์พร้อมจำนวนทั้งหมด 28 แผลขนาด 300 วัตต์และชุดอินเวอร์เตอร์ปั๊มขนาด 5.5 แรงและปั๊มน้ำหอยโข่งขนาด 3 แรงม้า 2 เครื่องโดยประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์สามารถให้ไฟทั้งหมดประมาณ 8,400 วัตต์ โดยสามารถจ่ายไฟให้กับเครื่องสูบน้ำทำงานได้แม้กระทั่งแสงแดดอ่อนหากแดดจะสามารถสูบน้ำได้มากสุดถึง 100,000 ลิตร/วัน


โดยโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้เป็นอย่างดีและระยะยาวอีกทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพของผลผลิตของชาวเกษตรกรในพื้นที่ได้ดีด้วยจากเดิมได้ผลผลิตไม่เกิน 350 กิโลกรัมต่อไร่ก็เพิ่มมาเป็น 490 กิโลกรัมต่อไร่ อีกทั้งชาวเกษตรยังสามารถพัฒนาระบบการผลิตข้าวเข้าสู่มาตรฐานจีเอพี และในขณะเดียวกันยังเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชหลังนาได้ด้วยเช่นกันและสามารถช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวเกษตรกรช่วยลดปัญหาการว่างงานลดการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นแรงงานในช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย

พญาแร้งให้น้ํา
โดยพญาแร้งให้น้ํานั้นสามารถใช้สูตรน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยที่คุณในไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าโดยมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มาจากธรรมชาติและใช้แรงโน้มถ่วงในการปั๊มน้ำแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโดยสามารถปั๊มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 24 ชั่วโมงและไม่จำเป็นต้องเสียค่าไฟแม้แต่บาทเดียว


โดยพญาแร้งให้น้ําถือเป็นนวัตกรรมที่ดีโดยการทำให้ถังบรรจุน้ำอยู่ด้านบนขอบสระเป็นสูญญากาศ คอยดูดน้ําจากที่ต่ําขึ้นมาที่ถังและปล่อยออกในแนวระดับที่ต่ำกว่าถังและใช้ระบบท่อที่มีขนาดพอเหมาะสมเพื่อในการไหลของน้ำไม่เสียสมดุลในระบบสุญญากาศภายในถังซึ่งพญาแร้งให้น้ําถือเป็นประโยชน์อย่างมากกับชาวเกษตรกรเพราะสามารถสูบน้ำได้ทั้งวันทั้งคืนมีราคาต่ำเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงหรือพื้นที่ที่ต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและสามารถตั้งได้ในพื้นที่ห่างไกลจากบ้านอีกด้วย

ด้วยอุปกรณ์นั้นก็จะมีถังน้ำบรรจุน้ำ 200 ลิตรท่อ PVC ดูดน้ำ 6 หุน 4 หุน 1 นิ้วและ 2 นิ้ว / ท่อพีวีซีส่งน้ำ 2 นิ้วและ 1 นิ้ว 6 หุนและ 4 หุน/ ท่อพักอากาศระหว่างทาง / ฟุตวาล์วหัวกระโหลก / ข้องอ / ท่อเหล็ก /กาว / เทปพันเกลียว / ฐานวาง / วาล์วปิดเปิด / วาล์วเติมน้ำ / วาล์วลม / และวาล์วปลายสาย


ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องพญาแร้งให้น้ำ
ขั้นตอนที่ 1 เจาะถังสำหรับต่อวาล์วเติมน้ำเพื่อเชื่อมข้องอ

ขั้นตอนที่ 2 เชื่อมข้องอเหล็กเข้ากับขอบด้านล่างของก้นถังโดยข้องอจะต้องต่อกับท่อเหล็กยาวอย่างน้อยประมาณ 15 cm ให้ลึกลงไปภายในถัง

ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นก็วางถังบนฐานและต่อท่อดูดและวาล์วเติมน้ำลงไปที่ปลายของท่อดูดจากนั้นก็ต่อ ฟุตวาล์ว ที่ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับมาโดยปลายท่อดูดควรจะจมอยู่ในน้ำลึก ประมาณ 15 cm และถูกกับแกลลอนไว้ที่ปลายท่อสูตรเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อดูดน้ำควรมีขนาด 6 หุนยาวประมาณ 3 เมตรจึงจะเหมาะกับถังน้ำขนาด 200 ลิตรมากที่สุดและปรับแต่งสปริงของฟุตวาล์ววลดลงเหลือครึ่งนึง

ขั้นตอนที่ 4 ต่อวาล์วลมที่รูระบายอากาศด้านบนของถังขนาดท่อ 6 หุนต่อท่อส่งน้ำขนาด 2 นิ้วด้านบนของถัง


ขั้นตอนที่ 5 ทำการเดินท่อส่งน้ำไปยังแปลงปลูกผักโดยท่อส่งน้ำในช่วงแรกจะมีขนาดประมาณ 2 นิ้วอย่างน้อย 15 เมตรและทุกๆ 50 เมตร จะต้องต่อท่อพักลมเอาไว้ด้วย

ขั้นตอนที่ 6 เมื่อมีระยะทางไกลมากขึ้นควรลดขนาดท่อส่งให้เหลือ 1 นิ้วเพื่อรีดน้ำให้ไหลแรงหรือเล็กลงเรื่อยๆเพื่อทำให้น้ำเต็มท่อ

ขั้นตอนที่ 7 ทำการต่อวาล์วเปิดปิดที่ปลายสายใช้งาน


ขั้นตอนการใช้งาน
ทำการเปิดวาล์วลมและเปิดวาล์วเติมน้ำ ปิดวาล์วปลายสาย ด้วยการเติมน้ำให้เต็มถังจากนั้นสังเกตว่าถังรั่วหรือไม่ถ้าหากไม่รั่วเมื่อเติมน้ำเต็มถังน้ำจะไม่ลดลงจะนิ่งอยู่อย่างนั้นหากถังรั่วหรือส่วนใดส่วนหนึ่งรั่วน้ำจะค่อยๆลดลงเราจะต้องแก้ปัญหารอยรั่วให้เรียบร้อยก่อน

เมื่อไม่พบปัญหาก็ทำการปิดวาล์วลมวาล์วเติมน้ำ ปิดวาล์วปลายสายค่อยๆ ให้น้ำใสๆไหลออกมาไม่เปิดแรงมากนักโดยน้ำตาไหลออกมาระยะหนึ่งแล้วหยุดไหลออกมาหลังจากนั้นก็ปิดวาล์วที่ปลายสายและเติมอากาศเข้าไป โดยการเอามือปิดที่ปลายวาล์วเติมน้ำแล้ว เปิดวาล์วเติมน้ำพญาแร้ง


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  รวมข้อมูล และ 115 สถานที่รับ 'กล้าไม้ฟรี' ทั่วประเทศ จากกรมป่าไม้ ปี 2563

เรื่องที่เกี่ยวข้อง