ตัวห้ำ มวนจอพพีคัส Joppeicus paradoxus Puton แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ตัวห้ำ มวนจอพพีคัส Joppeicus paradoxus Puton แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Joppeicus paradoxus Puton (Heteroptera : Joppeicidae)

รูปร่างลักษณะ ชีวประวัติ และอุปนิสัย
มวนจอพพีคัส เป็นแมลงในวงศ์ Joppeicidae มีขนาดเล็ก มีเพียงชนิดเดียวคือ Joppeicus paradoxus Puton ซึ่งเดิมจัดอยู่ในวงศ์ Aradidae (flat bugs หรือ bark bugs) ต่อมาจัดอยู่ใน Lygaeidae (seed bugs) หรือ Reduviidae ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ Joppeicidae ตัวเต็มวัย มีขนาดลำตัวยาว 3.0 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นของแมลงในวงศ์นี้คือ มีลายเส้น R+M บนโคนปีกคู่หน้า เป็นสันนูนชัดเจน J. paradoxus มีลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลปลายปีกสีขาวใสรูปไข่ ส่วนหัวจะเรียวเล็ก ความกว้างส่วนอกเล็กกว่าส่วนท้อง มวนตัวห้ำชนิดนี้ชอบหลบอาศัยอยู่ใต้เปลือกไม้ ใต้ก้อนหิน เศษใบไม้ และมูลค้างคาว สำหรับประเทศไทยพบครั้งแรกที่ จ.สุพรรณบุรี โดยพบทำลายด้วงถั่วเขียว หลังจากนั้นพบที่ จ. ราชบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะการทำลายมวนจอพพีคัสจะใช้ปากแทงดูดเข้าไปในลำตัวหนอน หรือดักแด้มอด หนอนจะเคลื่อนไหวไม่ได้หลังจากนั้นจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากตัวหนอน บางครั้งหนอนอดตายเพราะคลานไปหาอาหารไม่ได้ วงจรชีวิตจากระยะไข่จนถึงระยะตัวเต็มวัยประมาณ 60.2-142.9 วัน ที่อุณหภูมิ 25-30 ºC ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุได้นาน 72.5-118.5 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่ออัตราการเจริญเติบโตของมวนจอพพีคัส คือ 30 ºC

ภาพ – วงจรชีวิต ตัวห้ำ มวนจอพพีคัส Joppeicus paradoxus Puton

เขตการแพร่กระจาย
อิสราเอล อียิปต์ ซูดาน เอธิโอเปีย และไทย

แมลงอาศัย
มอดแป้ง Tribolium castaneum (Herbst), มอดฟันเลื่อย Oryzaephilus surinamensis Linnaeus และด้วงถั่วเขียว Callosobruchus maculatus (Fabricius)

-*-*-*-*-

ตัวห้ำ ที่พบนในประเทศไทย
จากการสำรวจศัตรูธรรมชาติในโรงสี โกดังเก็บข้าว ทั้งของราชการและเอกชน พบตัวห้ำทั้งหมด 29 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ใน 4 อันดับคือ Coleoptera, Dermaptera, Diptera และ Heteroptera สำหรับอันดับ Coleoptera พบแมลงที่เป็นด้วงตัวห้ำ 12 ชนิด อันดับ Dermaptera พบตัวห้ำ 4 ชนิด อันดับ Diptera พบแมลงวันตัวห้ำ 1 ชนิด และอันดับ Heteroptera พบมวนตัวห้ำทั้งหมด 13 ชนิด แต่ตัวห้ำที่สำคัญและพบมากที่สุดคือ Xylocoris flavipes, Joppeicus paradoxus, Amphibolus venator และ Peregrinator biannulipes

ชนิดวงศ์ของตัวห้ำ ที่พบในประเทศไทย ดังนี้

Order : Coleoptera
Family : Carabidae
Species : Chlaeminus sp., Amblystomus sp. 1, Amblystomus sp. 2, Amblystomus sp. 3, Stenolophus sp. 1, Stenolophus sp. 2, Eucolliuris sp., Zuphium sp., Aephnidius sp.

Family : Histeridae
Species : Carcinops pumilio (Erichson)

Family : Cleridae
Species : Thaneroclerus buqueti (Lefebvre), Tilloidea notata (Klug)

Order : Dermaptera
Family : Carcinophoridae
Species : Euborellia plebeja (Dohrn), Euborellia femoralis (Dohrn), Euborellia sp.

Family : Forficulidae
Species : Forficula sp.

Order : Diptera
Family : Scenopinidae
Species : Scenopinus sp.

Order : Heteroptera
Family : Reduviidae
Species : Amphibolus venator (Klug)*(พบมาก), Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret)*(พบมาก), Vesbius purpureus (Thunberg)*(พบมาก)

Family : Joppeicidae
Species : Joppeicus paradoxus Puton*(พบมาก)

อ่าน :  ขวดเดียวเห็นผล ไล่เพลี้ยได้ทั้งแปลง ปลอดภัย ไม่ใช้เงินสักบาท

Family : Anthocoridae
Species : Cardiastethus pygmaeus Poppius*(พบมาก), Amphiareus constrictus (Stål), Physopleurella sp., Dufouriellini gen. A sp., Dufouriellini gen. B sp., Xylocoris (Arrostelus) flavipes (Reuter)*(พบมาก), Xylocoris (Proxylocoris) sp. 1*(พบมาก), Xylocoris (Proxylocoris) sp. 2*(พบมาก)

-*-*-*-*-

ที่มา : PDF แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด โดย กองวิจัยและพัฒนาวิชาการหลักการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร – กรมวิชาการเกษตร


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง