ด้วงถั่วเหลือง (Southern Cowpea Weevil) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ด้วงถั่วเหลือง (Southern Cowpea Weevil) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

ชื่ออื่น ๆ : ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว, Cowpea beetle, Oriental cowpea bruchid, Adzuki bean weevil, Chinese bruchid
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callosobruchus chinensis (Linnaeus) (Coleoptera : Bruchidae)
ชื่อเดิม : Bruchus chinensis

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
เป็นแมลงศัตรูเมล็ดถั่วทุกชนิดเหมือนด้วงถั่วเขียวรวมทั้งทำลายเมล็ดถั่วเหลืองได้ด้วย ลักษณะการทำลาย มักจะทำลายร่วมกับด้วงถั่วเขียว

ด้วงถั่วเหลือง (Southern Cowpea Weevil)

รูปร่างลักษณะ ชีวประวัติ และอุปนิสัย
รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายกับด้วงถั่วเขียว แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ 2.5-3.0 มิลลิเมตร ลักษณะที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ scutellum มีสีขาวแต้มอยู่ 2 จุด หนวดของตัวเต็มวัยเพศผู้เป็นแบบฟันหวี (pectinate) สำหรับตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นแบบกึ่งฟันเลื่อย บนปีกทั้งสองข้างมีแถบสีน้ำตาลอ่อน ปลายสุดของลำตัวมีสีขาว ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้สูงสุดประมาณ 70 ฟอง อุปนิสัยเหมือนกับด้วงถั่วเขียว คือ ตัวหนอนเจาะผิวเมล็ดลงไปอาศัยกัดกินในเมล็ด และเข้าดักแด้อยู่ภายในโพรงที่อาศัยจนเป็นตัวเต็มวัยแล้วจึงเจาะผิวเมล็ดออกมา การเจริญเติบโตและวงจรชีวิตเหมือนด้วงถั่วเขียว อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตเมื่อเลี้ยงด้วยถั่วแดงอะซูกิ คือ อุณหภูมิ 30 ºC และความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

ภาพ – วงจรชีวิตด้วงถั่วเหลือง Callosobruchus chinensis (Linnaeus)

การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
การแพร่กระจาย ด้วงถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย และแพร่กระจายทำความเสียหายในประเทศแถบร้อนและกึ่งร้อน ฤดูการระบาด ตลอดปี

พืชอาหาร
เมล็ดถั่วทุกชนิดรวมทั้งเมล็ดถั่วเหลือง

กำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ
แตนเบียน ได้แก่ Uscana mukerjii (Mani), Anisopteromalus calandrae (Howard), Dinamus basalis (Rondani), Dinamus vagabundus (Timberlake), Heterospilus prosopidis Viereck, Pteromalus cerealellae (Ashmead), Theocolax elegans (Westwood), Eupelmus orientalis (Crawford), Eupelmus vuilleti (CRW.) และ Lariophagus distinguendus (Förster)

ไรตัวห้ำ ได้แก่ Pyemotes tritici (Lagrèze-Fossat & Montané)

-*-*-*-*-

ที่มา : PDF แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด โดย กองวิจัยและพัฒนาวิชาการหลักการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร – กรมวิชาการเกษตร


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  วิธีป้องกันและกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ มันสำปะหลัง (Cassava Bacterial Blight CBB)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง