แนวทางป้องกันและกำจัด เพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

แนวทางป้องกันและกำจัด เพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง

รูปร่างลักษณะของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัวมี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งคลุมตัว อาจเห็นหางสีขาวยาว 2 เส้น บริเวณปลายส่วนท้อง ขยาาพันธุ์โดยการใช้เพศหรือไม่ใช้เพศ(เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้) มีทั้งประเภทออกลูกเป็นไข่ และออกลูกเป็นตัว

ไข่ เพลี้ยแป้งมีไข่เป็นฟองเดี่ยว สีเหลืองอ่อน ยาวรี บรรจุอยู่ในถุงไข่ซึ่งมีเส้นใย คล้ายสำลีหุ้มไว้

ตัวอ่อน มีสีเหลืองอ่อน ตัวยาวรี ตัวอ่อนวัยแรกเคลื่อนที่ได้มีการลอกคราบ 3 – 4 ครั้ง

ตัวเต็มวัย เพศเมีย มีลักษณะค่อนข้างแบน บนหลังและด้านข้างมีขนปก คลุมมากชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ จะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้อง มีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง สำหรับชนิดออกลูกเป็นตัว ตัวป้อม กลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีผงแป้งเกาะการดำรงชีวิต เพลี้ยแป้งมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ตัวอ่อนเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ตัวเต็มวัยสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง แต่จากลักษณะการกินและการทำลายพืช มักอยู่นิ่งไม่ค่อยเคลื่อนที่ เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง

ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งที่พบในมันสำปะหลัง มี 4 ชนิด คือ

1. เพลี้ยแป้งลาย (Striped mealybug ; Ferrisia virgate Cockerell) ลำตัวคล้ายลิ่ม ผนังลำตัวสีเทาเข้มมีผงแป้งปกคลุมลำตัว เส้นขนขึ้นหนาแน่น ขนที่ปกคลุมลำตัวยาวเป็นเงาคล้ายใยแก้วมีแถบดำบนลำตัว 2 แถบชัดเจน ปลายท้องมีหางคล้ายเส้นแป้ง 2 เส้น ยาวครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว เพลี้ยแป้งชนิดนี้พบระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ที่ผ่านมาระดับความรุนแรงไม่ถึงขั้นทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ

2. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jack-beardsley mealybug ; Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel&Miller) ลำตัวค่อนข้างแบนผนังลำตัวสีเทาอมชมพู มีผงแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งเรียงกันจำนวนมาก เส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว พบระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

3. เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว (Madeira mealybug ; Phenacoccus madeirensis Green) ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง ผนังลำตัวสีเขียวอมเหลืองมีผงแป้งสีขาวบาง ปกคลุมลำตัวด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้น เส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว และที่ลำตัวมีสันนูน 3 แนวตามความยาวลำตัวสันนูนที่สุดอยู่กลางลำตัว เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียวชอบดูดกินอยู่ที่ใบแก่พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง

4. เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (Pink mealybug ; Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero) ลำตัวรูปไข่ผนังลำตัวสีชมพู มีผงแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้น หรือไม่ปรากฏให้เห็นเส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องค่อนข้างสั้น ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศวางไข่โดยบรรจุอยู่ในถุงไข่เป็นกลุ่ม เป็นชนิดที่ทำความเสียหายมากในมันสำปะหลัง พบระบาดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 ที่ประเทศคองโก มีการใช้แตนเบียนในการควบคุมโดยใช้เวลานานกว่า 10 ปี จึงสามารถควบคุมการระบาดได้ประเทศไทยเริ่มพบระบาดในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเมื่อปี พ.ศ. 2551 ระบาดสร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังอย่างรุนแรง

วงจรชีวิตของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู

การแพร่กระจายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังวัย 1 สามารถเคลื่อนที่ได้จึงเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง บนต้นมันสำปะหลังได้ โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่าง ของต้นมันสำปะหลัง กระแสลม พัดพาไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งไปยังต้นอื่น อีกทั้งท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เป็นสาเหตุหลักในการแพร่กระจายและติดไปกับตัวเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งทำความเสียหายต่อมันสำปะหลัง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตาาส่วนต่าง เช่น ใบ ยอด และตา ในส่วนของต้นที่ยังอ่อนอยู่ยอดที่ถูกทำลายจะงอหงิกเป็นพุ่มลำต้นจะบิดเบี้ยวมีช่วงข้อถี่แตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก ในส่วนของยอด ใบ เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวานทำให้เกิดรดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมันมีขนาดเล็กเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้าระบาดในมันสำปะหลังอายุยังน้อยอาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสร้างหัวและยืนต้นตายได้

ความเสียหายของมันสำปะหลังจากการถูกเพลี้ยแป้งทำลาย
หากเกิดการระบาดในต้นมันสำปะหลังอายุ 1 – 4 เดือน จะทำให้ต้นมันสำปะหลังแคระแกร็น ใบหงิก มันไม่สร้างหัว ถ้าอาการรุนแรงมากมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้หากระบาดในมันสำปะหลังอายุมากกว่า 4 เดือนทำให้ผลผลิตลดลงได้ตั้งแต่ 20 – 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดและอายุของมันสำปะหลัง

แนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
ก่อนการปลูกมันสำปะหลัง การดำเนินการในระยะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการด้านเขตกรรม (Cultural practices management) เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นพืช เพื่อให้พืชสามารถพัฒนาตัวเองให้ทนทานต่อแมลงศัตรูพืชได้ดีขึ้น มีวิธีการปฏิบัติ

1. เตรียมดินก่อนการปลูก ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์ก่อนการเตรียมดินอัตรา 1 – 2 ตันต่อไร่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ในขณะที่ดินมีความชื้นไถดะครั้งแรกด้วยผาน 3 หรือผาน 4 แล้วตากดินนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อทำลายหรือลดปริมาณไข่ และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่ยังหลงเหลืออยู่ในดิน จากนั้นไถแปรเพื่อย่อยดินด้วยผาน 7 แล้วยกร่องพร้อมปลูก

2. การเลือกฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เช่น เดือนพฤษภาคมเพื่อให้ช่วงระยะแรกและระยะกลางของการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังค่อนข้างน้อย

3. การจัดให้มีระบบการให้น้ำในไร่มันสำปะหลัง เนื่องจากธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังจะถูกทำลายโดยน้ำ ทำให้ปริมาณเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังลดลง

4. การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชต่างวงศ์หรือต่างชนิดกันในพื้นที่เดียวกันหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างพืชหลักกับพืชที่ไม่ใช่อาหารของแมลงศัตรูพืช เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

5. การสร้างแนวพืชป้องกัน เป็นการปลูกพืชเพื่อสร้างแนวกำแพงป้องกันแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชหลัก

6. การจัดการท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่ติดมากับท่อนพันธุ์ ให้ดำเนินการดังนี้
6.1 ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

6.2 ต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่กองไว้ หากพบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังห้ามเคลื่อนย้ายเพราะจะทำให้ไข่ และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งแพร่กระจายมากขึ้น

6.3 การเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มันสำปะหลัง ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งที่ยังหลงเหลือมากับท่อนพันธุ์

6.4 การเตรียมท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่แข็งแรงปราศจากโรคและแมลง และท่อนพันธุ์ควรมีอายุ 10 – 14 เดือน ใช้ต้นสดหรือต้นมันสำปะหลังที่ตัดกองทิ้งไว้ไม่เกิน 10 วันแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้
– ไทอะมิโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
– อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
– ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

อ่าน :  เด็กกตัญญู น้องเตชินท์ พ่อค้าน้ำอ้อยสุดขยัน ใช้เวลาว่าหาเงินช่วยคุณตาคุณยาย

6.5 แช่ท่อนพันธุ์นาน 5 – 10 นาที (ควรกดท่อนพันธุ์ให้จมน้ำทั้งหมด) จากนั้นนำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งแล้วนำไปปลูกทันที ถ้าปลูกไม่แล้วเสร็จสามารถเก็บท่อนพันธุ์ที่แช่น้ำยาแล้วได้แต่ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 24 ชั่วโมง

เมื่อมีต้นมันสำปะหลังอยู่ในแปลงดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจติดตามสถานการณ์เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเพลี้ยแป้งโดยการสำรวจสถานการณ์เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังควรดำเนินการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดฤดูกาลเพาะปลูกมันสำปะหลัง และเก็บข้อมูลต่าง ที่พบในไร่มันสำปะหลัง ได้แก่ จำนวนประชากรของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังทั้งกลุ่มไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะตัวเต็มวัย อาการความผิดปกติต่าง ที่เกิดขึ้นบนใบศัตรูธรรมชาติที่พบ และสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เพื่อให้สามารถนำมาวิเคราะห์สถานการณ์การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

2. การควบคุมเพลี้ยแป้งโดยวิธีผสมผสาน
2.1 การควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังด้วยวิธีเขตกรรม วิธีกล และวิธีฟิสิกส์ เป็นการจัดการเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอน ตัด หรือเด็ดยอดนำไปทำลาย รวมถึงการไถทิ้ง โดยพิจารณาวิธีการกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังตามระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง เช่น ช่วงระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ 1 – 4 เดือน หากพบระบาดไม่รุนแรงให้ตัดยอดที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังเกาะอยู่พ่นสารกำจัดแมลงบริเวณที่พบ หากพบระบาดรุนแรงให้ถอนทิ้ง แล้วนำไปทำลายนอกแปลง หากพบระบาดในมันสำปะหลังอายุ 5-8 เดือน ให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังนำไปทำลายนอกแปลงและพ่นสารกำจัดแมลงบริเวณพบ และบริเวณโดยรอบที่มีการระบาดทันที และช่วงระยะปลายของการเจริญเติบโตตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ให้ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังทันที เก็บเศษซากไปทำลาย ทำการไถดะ และตากหน้าดินเพื่อทำลายไข่ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

2.2 การควบคุมโดยชีววิธี (Biological control) โดยการใช้ศัตรูธรรมชาติ
1) แมลงช้างปีกใส การปล่อยแมลงช้างปีกใสในไร่มันสำปะหลัง สามารถปล่อยได้ทุกระยะ แต่ระยะที่เหมาะสม คือ ระยะไข่ที่ใกล้ฟักเป็นตัวอ่อน เนื่องจากสะดวกต่อการขนส่ง และเมื่อปล่อยลงในแปลงมันสำปะหลัง จะสามารถเข้าทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ทันที อัตราการปล่อยในพื้นที่ระบาดน้อย 100 ตัว ต่อไร่ หรือในพื้นที่ระบาดมาก 200 – 500 ตัว ต่อไร่ โดยปกติจะปล่อยประมาณ 4 ครั้ง

2) แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (Anagyrus lopezi) ควรปล่อยให้กระจายทั่วแปลง เนื่องจากแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์ได้อย่างน้อย 10 เท่า ในทุก ชั่วอายุ โดยปล่อยในอัตรา 50 คู่ ต่อไร่ เมื่อเริ่มพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู หรือปล่อยในอัตรา 200 คู่ ต่อไร่ เมื่อพบการระบาดรุนแรง และหลังปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ให้งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

3) การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติชนิดอื่น เช่น ด้วงเต่าตัวห้ำ ผีเสื้อหาง ติ่งตัวห้ำ และแตนเบียนชนิดอื่น

4) งดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง พ่นในแปลงมันสำปะหลังในช่วงที่พบแมลงศัตรูธรรมชาติบนต้นมันสำปะหลัง หรือช่วงหลังจากการปล่อยศัตรูธรรมชาติใหม่ ๆ

ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส
ตัวเต็มวัยแมลงช้างปีกใส
ด้วงเต่าตัวน้ำ
แตนเบียน

ช่วงเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว
เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่จำกัดอายุเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 8 เดือนขึ้นไป แต่อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 12 เดือน และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังแล้วเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในฤดูกาลปลูกครั้งต่อไป เกษตรกรควรมีการดูแลรักษาแปลงปลูกมันสำปะหลัง ดังนี้

1. ไถพรวนดิน และตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อลดปริมาณเพลี้ยแป้ง

2. กำจัดเศษซากมันสำปะหลังที่ยังเหลือค้างอยู่ในแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และศัตรูพืชชนิดอื่น

3. ดูแลแปลงมันสำปะหลังให้ปราศจากวัชพืช

4. ต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่ใช้ปลูกใหม่ต้องสด ไม่บอบช้ำ ปราศจากโรคและแมลง

ที่มา : คู่มือ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง .PDF – โดย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง