วิธีป้องกันและกำจัด โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง (Witche’s broom)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีป้องกันและกำจัด โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง (Witche’s broom)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อไฟโตพลาสมา

ลักษณะอาการ
โรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลัง มีลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตันทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด (Die back) ลำต้นแคระแกร็น ท่ออาหารใต้เปลือกลำต้นหรือหัวเปลี่ยนเป็นเส้นสีน้ำตาลดำ หากระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง (Witche’s broom)

พืชอาศัย : มีต้นวัชพืชสาบม่วงเป็นพืชอาศัย
แมลงพาหะ : เพลี้ยจักจั่น
การแพร่ระบาด : แพร่กระจายผ่านทางท่อนพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ และมีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะนำโรคมาสู่ต้นมันสำปะหลัง

เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก
ดอกสาบม่วง

แนวทางการป้องกันกำจัดโรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง
1. หมั่นสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรค หรือจากต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่ไม่แสดงอาการของโรค

3. ขุดหรือถอนต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลง

4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรคจากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคตกค้างอยู่ในแปลง

5. หลีกเลี่ยงการขนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคไปสู่แหล่งที่ยังไม่เคยมีการระบาด

6. กำจัดวัชพืชที่แหล่งพักเชื้อ หรือเป็นที่อาศัยของแมลงพาหะนำโรคในแปลง เช่น ต้นสาบม่วง

ที่มา : คู่มือ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง .PDF – โดย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  8 หลักการ ผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง