วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิต

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิต

คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ สาเร่งซุปเปอร์ พด.2 มีฮอร์โมนออกซิน, จิบเบอเรลลิน, ไซโตโคนิน และกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก, กรดอะซิติก, กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืชผลทางการเกษตร และกระตุ้นการงอก และความยาวของรากพืช

1. สูตรผัก ผลไม้

สิ่งที่ต้องเตรียม
– ผัก-ผลไม้ 40 กก.
– กากน้ำตาล 10 ลิตร
– น้ำเปล่า 10 ลิตร
– สาเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง (แจกฟรี ที่ กรมที่ดิน ทุกจังหวัด)

วิธีทำ
– นำผักและผลไม้ มาสับให้เป็นชิ้นเล็ก
– นำกากน้ำตาล 10 ลิตร มาละลายในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้กากน้ำตาลละลาย
– นำผักและผลไม้ ใส่ถังหมัก เติมกากน้ำตาลที่ละลาย คนให้เข้ากัน
– หมัก 7-10 วัน (คนทุกวัน)

2. สูตรปลา ห่อยเชอรี่

สิ่งที่ต้องเตรียม
– ปลาหรือเศษปลา หอยเชอรี่ 30 กก.
– ผลไม้ 10 กก.
– กากน้ำตาล 10 ลิตร
– น้ำเปล่า 10 ลิตร
– สาเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง (แจกฟรี ที่ กรมที่ดิน ทุกจังหวัด)

วิธีทำ
– นำปลา-หอยเชอรี่-ผลไม้ มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
– นำกากน้ำตาล 10 ลิตร มาละลายในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้กากน้ำตาลละลาย
– นำปลา-หอยเชอรี่ และผลไม้ ใส่ถังหมัก เติมกากน้ำตาลที่ละลาย คนให้เข้ากัน
– หมัก 15-20 วัน (คนทุกวัน)

อัตรา และวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

ข้าว
– แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว กระตุ้นการงอกของราก : ใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อเมล็ดข้าว 20 กก. แช่เมล็ด 12 ชม. นำขึ้นพักไว้ 1 วัน ก่อนปลูก

– ช่วงข้าวเจริญเติบโต : ใช้ 5 ลิตร ต่อไร่ ข้าวอายุ 30-50 และ 60 วัน หรือก่อนไถกลบตอซัง เทลงนาพร้อมน้ำเข้านา

ไม้ดอก และพืชผัก
– ใช้ 100 ซีซี เจือจางด้วยน้ำ 100 ลิตร ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยการฉีดพ่น หรือลดลงดินทุก 10 วัน

พืชไร่
– แช่ท่อนพันธุ์อ้อย, มันสำปะหลัง : ใช้ 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และแช่ท่อนพันธุ์ 12 ซม.

– ช่วงเจริญเติบโต : ใช้ 200 ซีซี เจือจางด้วยน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่น หรือรดลงดินในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ทุก 1 เดือน ในช่วงการเจริญเติบโต 1-3 เดือน

ไม้ผล
– ใช้ 500 ซีซี เจือจางด้วยน้ำ 250 ลิตร ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยการฉีดพ่นหรือรดลงดินทุก 1 เดือน ก่อนออกดอกและช่วงติดผล

การเก็บรักษา
– กรองใส่ถังทึบแสง และเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก (ถ้ามีกลิ่นเหม็น อาจหมดอายุ)

เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา
ที่มา : กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  วิธีทำสีต้นไม้ ป้องกัน หนอนเจาะลำต้น หอยทาก มด เพลี้ย เชื้อรา ศัตรูของต้นไม้เกือบทุกชนิด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง