วิธีการป้องกัน และกำจัด แมลงศัตรูมะม่วง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีการป้องกัน และกำจัด แมลงศัตรูมะม่วง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจัยที่สำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรอาชีพการปลูกมะม่วงต้องขาดทุน นั้นก็คือ “แมลง ศัตรูพืช” เพราะถ้าเราควบคุมและป้องกันกำจัด แมลงศัตรูพืชของมะม่วงไม่ได้ ปีนั้นหรืหช่วงการทำมะม่วงนอกฤดู อาจจะเจ้งหรือขาดทุนไปในที่สุด วันนี้เกษตรนานา จะพามารู้จักแมลงศัตรูพืชมะม่วง การป้องกันและการจำจัดกันครับ

เพลี้ยไฟ Scirtothrips dorsalis hood
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ให้ขอบใบและปลายใบแห้ง, ดอกร่วง, ผลเป็นขี้กลาก, มีรอยสากด้าน, หรือบิดเบี้ยว ระบาดเมื่ออากาศแห้ง

ป้องกันกำจัด โดย พ่นด้วยสารแลมบ์ดาโซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มล. หรือ คาร์บาริว 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้อ่านที่ฉลากยาอีกที)

-+-+-+-+-+-
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง Idioscopus clypealis (Lethierry)
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อน, ช่อดอก, ก้านดอก, และยอดอ่อน ทำให้ดอกแห้ง และร่วง มีคราบน้ำหวานเหนียวๆ ที่แมลงขับถ่ายไว้ เกิดเป็นราดำเปรอะเปื้อน และผล

ป้องกันกำจัด โดย พ่นด้วยสารแลมบ์ดาโซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มล. หรือ เพอร์เมทริน 10% อีซี หรือ คาร์บาริว 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้อ่านที่ฉลากยาอีกที)

-+-+-+-+-+-
เพลี้ยจักจั่นฝอย Amrasca splendens chauri
ลำตัว สีเขียวอ่อน ขนาด 2.5 ม.ม. หัวสีแดงเข้ม ปีกใสสีเขียวอมเหลือง ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน และยอดอ่อนที่แตกใหม่ ทำให้ขอบใบหงิกงอ เป็นรอยไหม้แห้งกรอบ ปลายใบหดสั้น

ป้องกันกำจัด โดย พ่นด้วยสารแลมบ์ดาโซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มล. หรือ เพอร์เมทริน 10% อีซี หรือ คาร์บาริว 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้อ่านที่ฉลากยาอีกที)

-+-+-+-+-+-
ด้วงงวง กัดใบมะม่วง Deporaus marginatus pascoe
ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่บนใบอ่อนบริเวณเส้นกลางใบ แล้วจะกัดใบใกล้ขั้วใบ เป็นแนวเส้นตรงคล้ายถูกกรรไกรตัด ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีใข่ติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน หนอนที่ฝักแล้วจะเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ

ป้องกันกำจัด โดย เก็บใบอ่อนที่ถูกด้วงกัดร่วงเอาไปฝังหรือเผาทิ้ง หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้อ่านที่ฉลากยาอีกที)

-+-+-+-+-+-
ด้วงหนวดยาว เจาะลำต้น Batocera rufomaculata De geer
ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้ง และยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จากขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น

ป้องกันกำจัด โดย เก็บหนอน และดักจับด้วงด้วยตาข่าย เพื่อตัดวงจรการระบาด และพ่นลำต้นมะม่วงที่มีรอยทำลายด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้อ่านที่ฉลากยาอีกที)

เมื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชมะม่วงได้แล้ว สิ่งที่คนทำสวนมะม่วงจะยังควบคุมไม่ได้คือ ฟ้า ฝน ที่อาจจะไม่เป็นใจ อย่างไรเสียการควบคุมป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะม่วงไปได้ ก็ทำให้เรามีโอกาศที่จะประสบความสำเร็จได้ไปกว่าครึ่งแล้ว

*** ถ้าโพสนี้มีประโยชร์ โปรแชร์ต่อ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแก่ผู้พบเห็น


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  มอดหนวดยาว (Flat grain beetle) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง