หนุ่มเล่า ไม่น่าทำ “โคก-หนอง-นา โมเดล” เลย มันทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยน

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

หนุ่มเล่า ไม่น่าทำ “โคก-หนอง-นา โมเดล” เลย มันทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยน

โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคกหนองนา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

1. โคก: พื้นที่สูง
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ

– ปลูกพืช ผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ

– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)

– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้

– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

โคก-หนอง-นา โมเดล

3. นา
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

โพสต์ดังกล่าว

ทั้งหมดที่กล่าวมาก็มีแต่เรื่องดีๆ แล้วทำไม่ถึงบอกว่าไม่น่าทำ คำตอบก็คือ อยู่บ้านวันๆ มีแต่ค่าใช้จ่ายทั้งซื้อกิน ค่าไฟก็แพง พอทำแล้วรู้สึกว่า ต้องดูแลต้นไม้ที่เราปลูก หลายอย่างที่ไม่ต้องซื้อ กับบรรยากาศในสวนร่มรื่น พร้อมกับรอดูการเจริญเติบโตของผลผลิตที่เราปลูกอยู่มากมายก็เลยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไม่อยากอยู่บ้านอีกต่อไปนั้นเอง

ขอขอบคุณที่มา : Pramoun Nganlasom, ไข่เจียว


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ซีพีเอฟ ส่งเอกสารแจงคณะอนุกรรมาธิการ ปมนำเข้า ปลาหมอคางดำ ยันปลาตายหมด-ฝังกลบทำลายตั้งแต่ ปี 54 แล้ว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง