เทคนิคการทำระบบน้ำ ‘ฉีดฝอยใต้น้ำ’ ประหยัดน้ำ ลดต้นทุนการทำเกษตร

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน


เทคนิคการทำระบบน้ำ ‘ฉีดฝอยใต้น้ำ’ ประหยัดน้ำ ลดต้นทุนการทำเกษตร

น้ำเป็นปัจใจหลังในการทำเกษตร ถ้าเกษตรกรใช้น้ำโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าอาจจะทำให้น้ำไม่พอใช้ และก็จะทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายตามมา วันนี้เพจเกษตร นานา มีเทคนิคการทำระบบน้ำฉีดฝอยใต้นำมาแนะนำเพื่อนชาวเกษตรกร รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย

ทุกวันนี้ ระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เป็นเทคโนโลยีการจัดน้ำเพื่อการเกษตร ที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หากเปรียบเทียบมีประสิทธิภาพแล้วเทคนิคการให้น้ำแบบจุลภาคคือระบบน้ำหยดและฉีดฝอยใต้ต้น กลับช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่า เพราะควบคุมจังหวะการให้น้ำได้แถมให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าในด้านปริมาณและคุณภาพ แต่ต้องใช้เงินลงทุนครั้งแรกสูงและค่าบำรุงรักษาระบบก็สูงตามไปด้วย ในบางท้องที่อาจให้น้ำด้วยแบบต่างๆ ผสมได้หลายแบบ เพื่อให้การใช้น้ำนั้นมีประสิทธิภาพดีที่สุด


การติดตั้งระบบน้ำหยด-ฉีดฝอยใต้ต้น
ระบบน้ำ หยดและฉีดฝอยใต้ต้น มีอุปกรณ์สำคัญประกอบด้วย หัวปล่อยน้ำ ท่อแขนง ท่อประธาน เครื่องกรอง เครื่องสูบน้ำ เครื่องควบคุมความดันของน้ำ อาจจะมีเครื่องผสมปุ๋ยด้วย หากใครสนใจอย ากติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำพืชระบบนี้ รองศาสตราจารย์มนตรีแนะนำว่า ควรเรียนรู้และเข้าใจอุปกรณ์ต่างๆของระบบให้น้ำแก่พืชแบบจุลภาค ดังนี้

1) หัวปล่อยน้ำ หัวปล่อยน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากของระบบจุลภาค เพราะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของปริมาณน้ำจากท่อแขนงไปสู่ดิน หัวปล่อยน้ำ มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง แล้วแต่ความนิยมของแต่ละประเทศหรือแต่ละบุคคล โดยทั่วไป หัวปล่อยน้ำ แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ

1.1 หัวน้ำหยด ลักษณะน้ำจะไหลเป็นหยดๆ ต่อเ นื่ องกัน

1.2 หัวไมโครสเปรย์ ฉีดเป็นฝอยแต่หัวไม่มีส่วนหมุน

1.3 หัวไมโครสปริงเกอร์ ฉีดเป็นฝอยซึ่งหัวมีส่วนหมุน

1.4 หัวฉีดน้ำเป็นจังหวะๆ เป็นหัวฉีดที่นำเอาหัวน้ำหยดรวมกับไมโครสเปร์หรือไมโครสปริงเกอร์ น้ำจะออกน้อยเหมือนน้ำหยดแต่ฉีดได้กว้างไกลเหมือนสปริงเกลอร์


2) ท่อแขนง ท่อแขนงทั่วๆไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-20 มม. ทำด้วยวัสดุได้หลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน เป็นวัสดุโพลีอีทีลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) สีดำเข้มที่ผสมสารป้องกันแสงอาทิตย์ (black carbon) นิยมวางบนผิวดิน

3) ท่อแยกประธาน ท่อนี้จะมีท่อแขนงมาต่อแยกออกด้านหนึ่งหรือสองด้านก็ได้ ส่วนมากจะเป็นวัสดุจำพวกพีอีหรือ พีวีซี นิยมฝังใต้พื้นดิน

4) ท่อประธาน ท่อประธานเป็นท่อที่เชื่อมโยงท่อแยกประธาน ให้ต่อกับแหล่งน้ำท่อประธานจะทำจากวัสดุต่อไปนี้ พี.อี. และ พี.วี.ซี. ซึ่งจะใช้วัสดุแบบใดก็ตาม ไม่ควรเป็นวัสดุที่เป็นสนิม และลอกเป็นสะเก็ดได้ง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการอุดตัน


5) เครื่องกรอง เครื่องกรองเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการให้น้ำแบบจุลภาค ควรใช้น้ำที่สะอาดจริงๆ เพื่อป้องกันปัญหาการอุดตัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเวลามาก เครื่องกรองที่นิยมใช้ส่วนมากเป็นแบบพื้นผิวคือแบบตะแกรงกับแบบชั้นความลึกได้แก่พวกชั้นทรายกรวด และแบบแผ่นจานเซาะร่อง วางซ้อนกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับลักษณะของตะกอนหรือสิ่งที่ต้องการจะกรองออกจากน้ำก่อนที่จะส่งเข้าสู่ระบบการให้น้ำ

ข้อดีของระบบน้ำหยด-ฉีดฝอยใต้ต้น
โดยอ้างอิงจากผลการศึกษาวิจัยของ รองศาสตราจารย์ มนตรี ค้ำชู ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทานด้านระบบการให้น้ำแบบต่างๆ พบว่า การให้น้ำระบบน้ำหยดและฉีดฝอยใต้ต้น มีข้อดีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

ช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดีเพราะช่วยรักษาระดับความชื้นในดินอยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะตลอดเวลา ทำให้พืชงอกงามและได้ผลผลิตดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่าระบบนี้ให้ผลผลิตสูงกว่าการให้น้ำแบบอื่นๆ ประมาณ 10-20% โดยเฉพาะในดินทราย ดินที่มีความเค็มหรือคุณภาพของน้ำไม่ดี การให้น้ำแบบหยดจะให้ผลผลิตมากกว่าถึงสองเท่า


ช่วยประหยัดน้ำได้มาก เพราะเป็นการให้น้ำแก่รากพืชโดยตรง แถมใช้แรงงานน้อย ทั้งนี้การให้น้ำแบบจุลภาคจะติดตั้งเป็นการค่อนข้างถาวร พร้อมให้น้ำได้ทุกเมื่อ เพียงเปิดหรือปิดวาล์วเป็นแปลงๆเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่เป็นอุปสรรคกีดขวางการดำเนินงานด้านอื่นภายในพื้นที่เพาะปลูก เช่น การตัดแต่งกิ่ง การพ่นยาปราบศัตรูพืช ตลอดจนการเก็บผลผลิต การทำงานเหล่านี้สามารถกระทำได้ในขณะทำการให้น้ำ

วิธีนี้เป็นการให้น้ำครั้งละน้อยๆ สามารถควบคุมเวลาการให้น้ำและปริมาณน้ำได้ใกล้เคียงกับความต้องการได้มากกว่าวิธีการให้น้ำแบบอื่นๆ สามารถให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ควบคุมวัชพืชได้ดีเนื่องจากการให้น้ำเป็นจุดเฉพาะบริเวณโคนต้น ทำให้พื้นที่ เปียกน้ำเป็นเพียงส่วนน้อยของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่บริเวณอื่นจึงไม่มีน้ำ ทำให้การเจริญเติบโตของวัชพืชเป็นไปได้ยาก ทำให้พืชที่ปลูกเจริญเติบโตเต็มที่เพราะได้รับปริมาณน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงกัน


ระบบน้ำหยดสามารถปลูกในดินได้แทบทุกประเภท แม้กระทั่งดินทรายที่ไม่มีสารอาหารเลย เพียงแค่ใส่ปุ๋ยผสมไปพร้อมกับการให้น้ำ หากออกแบบระบบน้ำอย่างถูกต้องเหมาะสม จะทำให้พืชได้รับน้ำสม่ำเสมอเท่ากันทุกต้น ทำให้พืชเจริญสม่ำเสมอเท่ากัน แบ่งพื้นที่การให้น้ำเป็น 4 แปลง

แต่ละแปลงมีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ ให้น้ำแปลงละ 4 ชั่วโมงต่อวัน 1วันทำการให้น้ำถึง 16ชั่วโมง จะเห็นว่าใช้ท่อรองประธาน และท่อประธานขนาดเล็กมากเพียง 50 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) สามารถใช้กับพื้นที่ได้ถึง 200 ไร่ ในประเทศอิสราเอล สำหรับเกษตรกรไทยคงใช้ท่อขนาดไม่น้อยกว่า 4 -6 นิ้ว เพราะต้องการให้น้ำให้เสร็จเร็วๆ เช่น 2 -3 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ระบบท่อและเครื่องปั๊มน้ำต้องใหญ่กว่าอย่างน้อย 2-3 เท่า


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  คลิป - ห้ามพลาด การปลูกทุเรียน เคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ กับพี่อ้น อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง