มาถึงอินเดีย แล้ว!! ระวังกองทัพตั๊กแตนปาทังก้า บุกไทย (มีคลิป)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

มาถึงอินเดีย แล้ว!! ระวังกองทัพตั๊กแตนปาทังก้า บุกไทย (มีคลิป)

ช่วง วันที่ 4 และวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ช่อง Youtube : TNN ช่อง16 และ เว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเสนอข่าวการระบาดของตั๊กแตนปาทังก้า ที่กำลังระบาดหนักมากกว่า “พันล้านตัว” ในประเทศแถมทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, และเอเชียใต้ ไม่ว่าจะเป็นเคนย่า เอธิโอเปีย, เอริเธีย, ซูดานใต้, อูกันตา, เยเมน, โอมาน, ซาอุฯ, อิหร่าน, อินเดีย, และปากีสถาน

ซึ่งเป็นผลมาจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ของตั๊กแตนปาทังก้า ซึ่งการแพร่ระบาดในครั้งนี้รวดเร็วและก็รุนแรงที่สุด โดยยูเอ็นระบุว่า การแพร่ระบาดของตั๊กแตนปาทังก้าครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปีใน “เคนยา” และรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปีใน “โซมาเลีย” และ “เอธิโอเปีย”

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าฝูงตั๊กแตนทะเลทรายปาทังก้านี่มีขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างรุนแรง และก็รวดเร็วด้วย ซึ่งพอตั๊กแตนปาทังก้าจะลงกัดกินพืชพันธุ์ทุกชนิดของเกษตรกรที่ปลูกเอาไว้จดหมด โดยสามารถกัดกินผลิตผลทางการเกษตรได้มากเท่ากับการบริโภคอาหารของประชากรทั้งประเทศเคนย่าใน 1 วัน ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างร้ายแรง หากไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดได้เร็วที่สุด

ขณะที่ประเทศไทยตอนนี้ก็ตื่นกลัวเรื่องนี้เหมือนกัน โดยนายรพีภัทร จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า หน่วยงานภาครัฐของไทยจำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่มีความเป็นไปได้ ว่าจะมีการระบาทข้ามภูมิภาคด้วย โดยการเฝ้าระวังสถาณการณ์แพร่ระบาทอย่างใกล้ชิด และก็เตรียมความพร้อมในการยกระดับการตรวจสินค้าเกษตร ที่ผ่านเข้า-ออก ด้วย มีการตรวจแมลงศัตรูพืช ณ ด่านกักกันพืชในทุกช่องทาง เพราะว่าถ้าไข่ตั๊กแตนปาทังก้าติดมาด้วยจะอัตตราย เพราะว่าตั๊กแตนปาทังก้าค่อนข้างจะแพร่พันธุ์ได้เร็ว เราก็ต้องมาการกักกันพืชในทุกช่องทาง เพื่อป้องกันไข่หรือตัวออกของตั๋กแตปาทังก้า ที่ปนเปลือนมาจากสินค้าการเกษตร รวมถึงการวางแผนเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการระบาดของตั๊กแตนปาทังก้าทะเลทรายนี้ด้วย

ดูคลิปข่าว


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  มอดสยาม (Siamese grain beetle) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง