ทายาทควรรู้ไว้ การโอนและรับโอนมรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของจากไปแล้ว

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ทายาทควรรู้ไว้ การโอนและรับโอนมรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของจากไปแล้ว

โฉนดที่ดินถือเป็นทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ได้อย่างมหาศาล สามารถหากำไรจากที่ดินได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่ว่าจะเก็บไว้เพื่อเกร็งกำไร เพราะเวลาผ่านไปราคาที่ดินมีแต่ขึ้นไม่มีลง หรือจะลงทุนทำสวนทำไร่ ก็จะเป็นอาชีพที่อยู่ไปได้จนสุดบั้นปลายชีวิต หรือจะสร้างอสังหาริมทรัพย์เพื่อนอนกินค่าเช่า เช่น หอพัก อพาร์ทเม้นท์ และโรงแรม ก็ย่อมได้

ยิ่งมีสิ่งปลูกสร้าง ยิ่งได้กำไรงามนักเวลาขาย จึงมีการลงทุนซื้อที่ดินเก็บไว้เป็นทรัพย์สินในครอบครองกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นมรดกที่ดีสืบลูกสืบหลานต่อไป

โดยมีเพจทางเฟสบุ๊ค สายตรงกฎหมาย โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ได้โพสให้ข้อมูลเกี่ยวกับมรดกที่ดินไว้ว่า…

เมื่อมีคนตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท ถ้าเป็นทรัพย์สินเล็กๆน้อยๆ ก็จัดสรรปันส่วนได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นพวกที่ดินบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ใดๆ ที่ต้องไปจดทะเบียน ก็อาจจะยุ่งยากหน่อยวันนี้เรามาดูกันเรื่องการรับมรดกที่ดินคร่าวๆ

มรดกที่ดิน เมื่อมีคนตายทายาทจะรับมรดก อาจทำได้ 2 วิธี จูงมือทายาทกันไป โอนที่สำนักงานที่ดิน และอีกวิธีนึงคือตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งต้องไปขึ้นศา

การโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดิน
1. นำหลักฐานสิทธิมนที่ดินไป เช่น โฉนดที่ดิน

2. หลักฐานการตาย เช่น มรณะบัตร

3. หลักฐานการเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก เช่น เป็นลูก เป็นภรรยาพินัยกรรม

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการประกาศมรดกมีกำหนด 30 วัน แล้วก็จดทะเบียนให้ถ้าไม่มีคัดค้าน จริงๆ มันมีรายละเอียดมาก ยังไงลองติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อสอบถามรายละเอียด

ส่วนการโอนที่ดินโดยตั้งผู้จัดการมรดก สามารถทำได้
1. ให้ทายาทร้องขอต่อศาลให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดก สามารถทำได้

2. จะมีการจดทะเบียนผู้จัดการมรดก

3. หลังจากนั้น ผู้จัดการมรดก ก็ไปจดทะเบียนได้เลย เจ้าหน้าที่ก็จะรับจดทะเบียนให้

ฟังดูเหมือนง่าย แต่เอาเข้าจริง ใช้เวลาอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าจะโอนที่ดิน ยังไงก็ต้องทำตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป…

หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว เราควรศึกษาให้รอบคอบก่อน เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่บอบบางและมีช่องโหว่มาก

ดังนั้นก่อนที่เราจะกระทำการสิ่งใด เราควรศึกษาข้อมูลต่างๆก่อนให้ถี่ถ้วน หรือหากเป็นเรื่องใหญ่ก็แต่งตั้งทนายขึ้นมารับผิดชอบแทนไปเลยจะดีกว่า เสียน้อยยังดีกว่าเสียมาก

ที่มา : ทนายรัชพล ศิริสาคร Fanpage


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  รีบอ่าน! ก่อนจะเสียที่ดินโดยไม่รู้ตัว ต้องดูแลที่ดินว่างเปล่าอย่างไร ?

เรื่องที่เกี่ยวข้อง