วิธีการขอ “ไฟฟ้า” ลงพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับใช้ในสวน และไร่นา (มีคลิป)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีการขอ “ไฟฟ้า” ลงพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับใช้ในสวน และไร่นา (มีคลิป)

วันนี้เราจะพามาดูขั้นตอนในการขอไฟเกษตร เพื่อนำมาใช้ในไร่นา หรือสวนของเรา ว่าต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะมีไฟใช้ในสวนได้ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าไฟเกษตรคืออะไร ต่างจากไฟฟ้าในบ้านเรือนทั่วไปหรือไม่ ซึ่งความหมายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ให้ความหมายว่า ไฟเกษตรคือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

ชาวเกษตรกรที่มีไร่นาต้องดูแล ก็มีความจำเป็นที่จะใช้ไฟฟ้าในไร่นา ในสวนของตัวเอง แต่การใช้ไฟสำหรับการทำเกษตรนั้น ไม่เหมือนกับการขอใช้ไฟตามบ้านเรือนเพื่อที่อยู่อาศัย มันมีความแตกต่างกันอยู่

ผู้ที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับทำการเกษตร จะต้องมีคุณสมบัติครบ ตรงตามกำหนดของการไฟฟ้า โดยเกษตรไทยสามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรี โดยสามารถทำตามเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ 9 ข้อดังต่อไปนี้

1. หลักเกณฑ์การขอใช้ไฟฟ้าฟรี สำหรับเกษตรกรที่ใช้ใน ไร่นาหรือสวน ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันตัวตนว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่หวงห้ามใดๆ ของทางราชการ

2. ต้องมีเส้นทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้อย่างสะดวก

3. สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาwาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ขอใช้ไฟฟ้าได้

4. ต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินที่ถือครองโดยเอกชนรายใหญ่

5. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ ต่อ 1 ราย

6. ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่ต้องการใช้ไฟฟ้า

7. ต้องระบุแหล่งน้ำที่จะใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า เช่น คลองสาธารณะ คลองชลประทาน แหล่งน้ำใต้ดินในลักษณะต่างๆ

8. ต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2(ใหม่) โดยจะแจ้งเก็บเงินไปที่มิเตอร์เครื่องที่ 1(เก่า) ทั้งสองมิเตอร์ต้องอยู่ในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าเดียวกัน

9. ค่าใช้จ่ายในการขยาย เขตต่อราย เฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท (PEA. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขยายเขต)

เอกสารที่ต้องเตรียม คิดดีวิธีขอ ไฟเกษตร สำหรับใช้ใน “สวนเเละไร่นา”
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาโฉนดที่ดิน
– สำเนาบัตรประชาชน
– ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ


เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว ต่อไปคือ ให้เราถ่ายรูปที่พักอาศัยและห้องน้ำ รวมถึงสวนที่อยู่ติดบ้าน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการให้กรมอนามัยลงพื้นที่ตรวจสอบ และทำเอกสารรับรองการเป็นอยู่ของที่อยู่เรา ให้นำหนังสือไปยื่นเรื่องที่หน่วยงานรับผิดชอบ ในการขอบ้านเลขที่ เมื่อได้บ้านเลขที่แล้ว ก็ให้ไปยื่นที่อำเภอต่อ

คำแนะนำ : ในกรณีที่บ้านอยู่ไกลสวน จะต้องสร้างเพิงพักที่ดูมั่นคง รวมถึงห้องน้ำ เพื่อให้เห็นว่าเรามาอาศัยอยู่ถาวรในพื้นที่นี้จริงๆ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้อยู่ก็ตาม

สรุปเกี่ยวกับการขอไฟเกษตรมาลงในพื้นที่
1. ขอบ้านเลขที่โดยจะได้สำเนาทะเบียนบ้าน

2. ยื่นเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป

3. ยื่นเรื่องทิ้งไว้ที่องค์การไฟฟ้าในอำเภอ รอความคืบหน้า อย่าลืมสอบถามความเป็นไปได้ที่จะมีไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ด้วย

ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
– 5(15) แอมป์ 1,000 บาท
– 15(45) แอมป์ 6,450 บาท
– 15(45) แอมป์ 3 เฟส 21,350 บาท

ในพื้นที่นั้น ๆ จะต้องมีแนวโน้วที่จะมีไฟฟ้าเข้าถึงด้วย และ หากใครยังติดขัดลองดูเนื้อหาในรูปด้านบนได้เลย หรือโทรสอบถาม 1129 ได้เลยนะ


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  วิธีทำกระท่อมสำหรับนั่งพักผ่อน จากท่อพีวีซี ใช้งบน้อยมาก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง