ย้อนอดีต “โรคห่า” ระบาดหนัก พรากชีวิตผู้คนนับหมื่น

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ย้อนอดีต “โรคห่า” ระบาดหนัก พรากชีวิตผู้คนนับหมื่น

หลายๆคนคงได้ยินคำร่ำลือในสมัยโบราณที่เล่ากันต่อๆมากับ “โรคห่า” ซึ่งในสมัยก่อนนั้น แพร่กระจายหนัก พรากชีวิตผู้คนนับหมื่นขึ้นเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อนหน้านี้ดูจะลุกลามใหญ่โต

เนื่องจาก การแพทย์สมัยนั้นค่อนข้างล้าหลังและไร้เทคโนโลยีทันสม­­ัยต่างๆ คอยช่วยรักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคระบาดร้ายแรงอย่าง “โรคห่า” ซึ่งคร่าชีวิตผู้ค­­นไปกว่าหมื่นคนในเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงจนต้องลงบันทึกในประวัติศาสตร์ และวันนี้เราจะมาเจาะลึกโรคระบาดที่เรียกว่า “โรคห่า” กัน

นายนภนาท อนุพงศ์พัฒน์ ผู้จัดการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ได้ทำการศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงวิวัฒนาการด้านการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่­­ในอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบคร่าวๆว่า “โรคห่า” คือโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ

โดยในสมัยนั้นผู้คนยังไม่ทราบว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้นคือโรค­­อะไร แต่ด้วยความรุนแรงของโรคที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็­­วจึงพากันเรียกโรคระบาดนี้ว่า “โรคห่าลง” และอย่างที่บอกว่าสมัยก่อนเมื่อมีโรคระบาดอะไรเกิดขึ้นก็จะเหมา­­รวมว่าเกิดโรคห่าอาละวาด ทั้งที่จริงแล้วก็มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามพระราชบัญญัติสำ­­หรับโรคระบาด ปี พศ 2456 ระบุโรคห่าไว้ 3 โรค คือกาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ

ทั้งนี้ คุณนภนาทได้อ้างถึงหลักฐานจามเทวีวงศ์ พงศาวดารของเมืองลำพูน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งระบุไว้ว่า ในยุคสมัยนี้ก็เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ผู้คนล้มตายจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านในเมืองพากันย้ายเมืองหนี ละทิ้งผู้ป่วยไว้กับความตายเพียงลำพัง

เนื่องจาก เชื่อว่าวิธีหนีห่างจากผู้ป่วยเป็นการป้องกันโรคระบาดที่­­ดีที่สุด ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าโรคห่า­­ที่เกิดขึ้นในยุคนี้เป็นโรคอะไรกันแน่ ทว่ามีการคาดเดาว่า การระบาดครั้งนั้นไม่น่าจะใช่โรคอหิวาตกโรค เนื่องจากแพร่เชื้อแค่เพียงการสัมผัส แต่นี่ก็นับเป็นการเกิดโรคระบาดที่ร้ายแรงมากครั้งหนึ่งในประวั­­ติศาสตร์ไทย

ต่อมา ในช่วงก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง โรคระบาดก็ยังตามมาหลอกหลอนไม่ขาด ทำให้ต้องอพยพผู้คนหนีโรคอีก โดยตามข้อมูลซึ่งระบุโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชื่อว่าโรคระบาดครั้งนี้น่าจะเป็นโรคไข้ทรพิษ

อย่างไรก็ตามสุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กลับระบุว่า โรคห่าสมัยนั้นคือกาฬโรค เพราะช่วงหลัง พ ศ 1800 เกิดโรคกาฬโรคระบาดที่ประเทศจีน ซึ่งมีหนูเป็นพาหะ แล้วหนูนั้นก็อาศัยไปกับเรือสำเภาบรรทุกสินค้า จึงนำกาฬโรคไปแพร่ยังเมืองท่าต่างๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่ยังระบาดไปยังยุโรป จนมีผู้คนล้มตายนับล้านคน

ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็ยังเกิดโรคห่าระบาดรุนแรงอีกครั้ง ซึ่งคาดว่า เป็นไข้ทรพิษ แต่ในครั้งนี้พบหลักฐานว่าเริ่มมีการวางระบบจัดการเพื่อควบคุมโรคระบาด จำกัดขอบเขตเฉพาะพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการในการป้องกันโรคอย่างมีแบบแผนมากยิ่­­งขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการควบคุมโรคระบาดที่ดีขึ้น แต่ในสมัยอยุธยาก­็ยังคงมีโรคระบาดครั้งใหญ่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ส่งผลให้ผู้คนในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ล้มหายตายจากเพราะโรคไข้ทรพิษ­­เป็นจำนวนมาก

อีกทั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังทรงเคยได้รับเชื้อไข้ทรพิษจากการแพร่ระบาดไปด้วย แต่เคราะห์ดีที่สมัยนั้นพระองค์ท่านสามารถเอาชนะโร­คไข้ทรพิษมาได้

จนกระทั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้มีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเข้ามาทำการรักษาโรคระบาดบ้างแล้ว แต่ในบันทึกที่ถูกค้นพบก็ระบุว่าการรักษายังไม่คืบหน้าเท่าไรนั­­ก ยังคงใช้การปลุกเสกและน้ำมนต์ปัดรังควานโรคร้ายกันอยู่เลย

ในที่สุด จึงเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช่ว­­งสมัยของสมเด็จพระเพทราชา หรือสมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์องค์ที่ 28 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 8 หมื่นคนเลยทีเดียว

ต่อมาพ ศ 2392 อหิวาตกโรค กลับมาระบาดหนักอีกครั้ง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ปีนังแล้วแพร่ระบาดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ รุนแรงจนเรียกได้ว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 15,000-20,000 คน ภายในเวลาเพียง 1 เดือน และมีผู้เสียชีวิตรวมมากถึง 40,000 คนตลอดฤดูการระบาดของโรค การระบาดในครั้งนั้นถูกเรียกว่า “ห่าปีระกา” หนึ่งในผู้เสียชีวิตมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รวมอยู่ด้วย

“โรคห่า” ยังคงเวียนกลับมาระบาดในช่วงหน้าแล้งเป็นประจำ จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีเหล่ามิชชันนารีและหมอนำการรักษาแบบตะวันตกเข้ามายังประเท­­ศไทย และสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำสูตรยาวิสัมพยาใหญ่และยา­­น้ำการบูรหยอดรักษาผู้ป่วย ทำให้การแพร่ระบาดลงลง

ทั้งนี้ การป้องกันโรคระบาดยังคงมีวิวัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย โดยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่หมอบรัดเลย์นำการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาในประเทศไทย บวกกับการจัดการเรื่องสุขอนามัยประชาชนที่ดีขึ้น

โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโอสถศาลา และสถานพยาบาลชั่วคราวตามหัวเมืองใหญ่ๆ เพื่อรักษาราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทำให้การระบาดของโรคห่าไม่รุนแรงมากนัก และนี่คือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงพยาบาลสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ ยังมีการผลิตน้ำประปาขึ้นในกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อการสุขาภิบาลดีขึ้น ประชาชนมีความรู้ด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น จึงทำให้อหิวาตกโรคเริ่มหายไป คนไทยรอดตายจากโรคระบาดเหล่านี้มากขึ้นตามกาลเวลา

เป็นประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกเล่าไว้ ส่วนการป้องกันโรคระบาดยังคงมีวิวัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัย โดยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั้งทุกวันนี้เรายังไม่ได้ยินโรคนี้อีก แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันโรคโควิดนี้ ทำให้ทุกคนมองว่า อาจจะเป็นเหมือนโรคห่าในสมัยโบราณก็ได้

ขอขอบคุณที่มา : wikipedia ไทยโพสต์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  จากนักเรียนยากจน เดินไปโรงเรียน 5 กม. สู่บัณฑิตเเพทย์เกียรตินิยม