เตือน! แอบย้ายหมุดที่ดิน มีโทษร้ายแรงถึงติดคุก

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เตือน! แอบย้ายหมุดที่ดิน มีโทษร้ายแรงถึงติดคุก

เพจ สายตรงกฎหมาย โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ได้ออกมาโพสต์ข้อกฎหมาย ว่า หมุดที่ดิน บ่งบอกหลักเขตที่ดินมันมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะมันเป็นตัวที่จะทำเงินให้เมื่อเวลาจะขายที่ดิน หรือ เป็นตัวแสดงเขตที่ดิน เรามีที่ดินมากหรือน้อยก็อยู่ที่หมุดตัวนี้แหละ บางคนถึงได้แอบไปย้ายขยายอาณาเขตของตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการขี้โกงคนอื่นเค้า

หลักเขตที่ดิน…คืออะไร
หลักเขตที่ดินคือจุดที่ชี้แนวว่าที่ดินของคุณมีพื้นที่เริ่มต้นที่ไหนและสิ้นสุดตรงไหน โดยเจ้าของที่ดินผู้ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์เช่น โฉนดที่ดิน จะต้องมีหลักเขตที่ดินอยู่ในที่ดินทุกแปลง แต่ก็เป็นเรื่องแปลกมากเลยครับที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตัวเอกสารโฉนดที่ดินเพียงอย่างเดียวจนมองไม่เห็นความสำคัญของหลักเขตที่ดิน โดยคิดว่าการครอบครองโฉนดที่ดินก็เพียงพอแล้วและหลักเขตที่ดินเป็นเพียงส่วนประกอบ ไม่ใช่เลยนะครับ เพราะหลักเขตที่ดินเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าสมาชิกบ้านมหาฯท่านใด มีแต่โฉนดที่ดินแต่ไม่พบหลักเขต คุณค่าทางกฎหมายของโฉนดที่ดินจะลดต่ำลงกลายเป็นโฉนดที่เลื่อนลอยหาความเชื่อถือแทบไม่ได้เลยนะครับ

” หมุดที่ดิน คือสิ่งที่เจ้าพนักงานเค้าแสดงหลักเขตไว้ หากไปย้าย ทำลาย ดัดแปลง ถอดถอน มีโทษหนักถึงจำคุก ใครที่ไปโกงคนอื่นเค้า ระวังจะติดคุกนะครับ “

ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 67 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำหลักหมายเขตที่ดิน หรือได้สร้างหมุดหลักฐานเพื่อการแผนที่ลงไว้ในที่ใด ห้ามมิให้ผู้หนึ่ง ผู้ใดนอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทำลายดัดแปลง เคลื่อนย้ายถอดถอน หลักหมายเขตหรือหมุดหลักฐานเพื่อการแผนที่นั้นไปจากที่เดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานที่ดิน

มาตรา 109 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 67 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

สรุปคือ หากทำการ ถอน เคลื่อนย้าย ทำลายหมุดที่ดิน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานที่ดิน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ จำคุก 3 เดือน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

เพิ่มเติม การรังวัดสอบเขตที่ดินหลังจากช่างรังวัดของกรมที่ดินมาทำการรังวัดที่ดินแล้วเราถึงจะสามารถทราบหลักเขตในที่ดินแต่ละแปลงได้ครับ ซึ่งการปักหลักเขตนั้นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะเป็นผู้ขุดฝังเองต่อหน้าเจ้าหน้าที่และเจ้าของที่ดินแปลงที่ติดกันร่วมดูอยู่ด้วย ซึ่งหากนับตั้งแต่วันที่เจ้าของที่ดินนำเจ้าหน้าที่ไต่สวนเขตและปักหลักเขตที่ดินจนมาถึงปัจจุบัน ถ้าหลักเขตนั้นไม่สูญหายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และถูกต้อง ปัญหาเรื่องข้อพิพาทระหว่างเจ้าของพื้นที่ติดกันก็คงไม่ค่อยมีครับ แต่ที่ผ่านมาปัญหาที่ปรากฏคือต่างฝ่ายต่างมีแต่โฉนดแต่ไม่มีหลักเขตที่ดิน

เจ้าของที่ดินบางคนที่มองไปว่าอาจเกิดปัญหาแบบนี้จึงมักแก้ไขปัญหาโดยนำหลักเสาปูนขนาด กว้าง 4 นิ้ว ยาวประมาณ 60 เซนติเมตรมาฝังกับหลักเขตที่ดิน เมื่อเจ้าของที่ดินมาดูที่ดินของตนเองก็สามารถมองเห็นหลักเขตที่ดินได้โดยง่ายเพราะหลักปูนที่ฝังคู่กับหลักเขตที่ดินนั้นใหญ่และสูงกว่าหลักเขตที่ดินครับผม

ทำเรื่องขอสอบเขตที่ดินถ้าสมาชิกฯที่เป็นเจ้าของที่ดินต้องการขอสอบเขตโฉนดที่ดินเฉพาะรายของตน หรือต้องการจะขอให้ตรวจสอบพื้นที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายของตน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไปทำการรังวัดให้ครับ

ส่วนในการรังวัดสอบเขตหรือตรวจสอบเนื้อที่ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ถ้าหากผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงที่เกี่ยวข้องได้ลงชื่อรับรองแนวเขต เจ้าพนักงานที่ดินก็มีอำนาจแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็นจริงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ใช่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น ตัดแบ่งเนื้อที่ให้กันโดยไม่ต้องจดทะเบียนการโอน

ถ้ามีผู้คัดค้านในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน (ซึ่งมักจะเป็นเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดกัน) เจ้าพนักงานที่ดินเขาก็จะเป็นผู้สอบสวน ไกล่เกลี่ย โดยจะถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง (แต่การตกลงกันนี้จะต้องไม่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย อย่างที่ผมบอกไว้ข้างต้น)

ถ้าตกลงกันไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินก็จะแจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าไม่มีการฟ้องร้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินหรือจะตรวจสอบเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมยกเลิกคำขอได้ต่อไปครับผม

*** ถ้าโพสนี้มีประโยชร์ #โปรแชร์ต่อ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแก่ผู้พบเห็น

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : เพจ สายตรงกฎหมาย, khaosod
Cr. ภาพประกอบจาก : อินเตอร์เน็ต


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ความแตกต่างระหว่าง โรคแอนแทรคโนส และ อาการขาดธาตุแคลเซียม ในพริก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง